วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)


Supply Chain เป็นกิจกรรมที่มีการปะทะสัมพันธ์หรือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างการจัดซื้อกับการตลาดในลักษณะที่เป็นบูรณาการ การค้าในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการค้าแบบไร้พรมแดนทั้ง Logistics และ Supply Chain ต่างก็จะมีภาระหน้าที่ (Function) แตกต่างกันในอาณาบริเวณของตลาด โดยต่างก็เป็นกิจกรรม ที่ส่งเสริมการตลาด และการผลิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน”
คำนิยามของ Supply Chain โดย Robert B. Handfield & Ernest L. Nichols, Jr.
“Supply Chain Management (SCM) is the integration and management of supply chain organizations and activities through cooperative organizational relationships,effective business processes , and high levels of information sharing to create high-performing value systems that provide menber organizations a sustainable competitive advantage.”
จากคำนิยามข้างต้น อาจให้ความหมายของ Supply Chain Management ว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบูรณาการ (Integration) และการจัดการในองค์กรที่ได้มีการนำห่วงโซ่อุปทานและยังรวมถึงกิจกรรมต่างๆ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมความสัมพันธ์และความร่วมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกรรมในอันที่จะสร้างเสริมให้มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการอันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
Supply Chain เป็นเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะ Marketing Mixed (ส่วนผสมการตลาด) ซึ่งจะเห็นว่า Supply Chain จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Product Concept (แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) , Product Design , Raw Material Supply (การจัดหาวัตถุดิบ) , Production Process (ขบวนการเกี่ยวกับการผลิต) , Transport , Warehouse และ Distributor (การกระจายสินค้า) เพื่อจัดจำหน่ายต่อไปยังผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีก จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย (End Consumers) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่ของการสร้างมูลค่า” หรือ “VALUE CHAIN” มีนักวิชาการโลจิสติกส์บางท่าน กล่าวถึง Logistics และ Supply Chain ต่างเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Moving) โดยกล่าวว่า Logistics จะเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในองค์กร และ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างองค์กร ซึ่งผู้เขียนก็จะมีความเห็นที่ต่างออกไป คือ “Logistics เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย (Moving) สินค้าและบริการ ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร” ส่วน Supply Chain จะเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับองค์กร ทั้งที่เป็นส่วนอุปสงค์ (Demand) และส่วนของอุปทาน (Supply Side) ในลักษณะที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุน การเคลื่อนย้าย (Moving) ในความหมายนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะกิจกรรมขนส่งที่เป็น Transport เท่านั้น แต่รวมถึงกระบวนการในการส่งต่อที่มีผลทางกายภาพให้วัตถุดิบ-สินค้า-บริการ มีการเคลื่อนย้ายจาก Origin Sources ไป End Sources ส่วนคำว่า Chain นั้นจะใช้คำว่าห่วงโซ่ ไม่ใช้คำว่า “โซ่” เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Supply Chain เป็นเรื่องของบูรณาการ Chain ในความหมายที่เป็น ห่วงโซ่ จะให้เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเป็นห่วงของแต่ละโซ่ที่สอดคล้องร้อยรัดแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain เข้าด้วยกันในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นวงแหวน
องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
1. Upstream เป็น องค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร
2. Internal Supply Chain เป็น องค์ประกอบส่วนกลางของห่วงโซ่ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต หลังจากรับวัตถุดิบจากผู้ค้า ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และจัดเก็บในคลังสินค้า
3. Downstream เป็น องค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
ผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ
ระบบห่วงโซ่อุปทานที่ดีจะทำให้องค์กรได้ระบบที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ต้องการและทำให้องค์กรอยู่ในจุดที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้เป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าระบบจะทำงานในระดับภูมิภาค, มหภาคหรือทั่วโลก กุญแจที่จะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จคือการลดเวลา, ทรัพยากร, คลังสินค้าและการวางแผนผลิตภัณฑ์ในทุกๆกระบวนการ ซึ่งทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาลจากประสบการณ์ของเรา การทำให้ระบบห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้:
1. การทำให้การส่งของถูกต้องและตรงต่อเวลาเพิ่มขึ้น 25-30%
2. เพิ่มผลผลิต 2-5% โดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากร
3. ลดค่าใช้จ่ายลง 10-50% เช่น จากการลดงานที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น
4. ลดการกักตุนสินค้าถึง 10-25%
5. ทำให้เวลาในวัฏจักรกระบวนการสั้นลง 10-50%

ระบบการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM : Customer Relationship Management)

CRM หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดที่องค์กรใช้กับลูกค้าและผู้ที่คาดว่าอาจจะกลายเป็นลูกค้าในอนาคต กระบวนการนี้มีทั้งส่วนที่เป็นกิจกรรมทางธุรกิจและส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการประสานกระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรนำมาใช้กับลูกค้าทั้งในกระบวนการขาย การตลาด และการให้บริการนับตั้งแต่เริ่มรับคำสั่งซื้อสินค้าไปจนกระทั้งนำสินค้าส่งให้กับลูกค้า
ลักษณะการทำงาน : CRM ถูกออกแบบเพื่อช่วยปฏิบัติการธุรกิจ เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า จัดเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคของลูกค้าและช่วยสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับลูกค้าและธุรกิจ ซึ่งได้ออกแบบการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ-ที่อยู่ การสั่งสินค้า/บริการ การชำระเงิน ข้อเรียกร้อง การส่งคืนสินค้า เป็นระบบฐานข้อมูลที่ถูกบันทึกแยกกันโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานตามโครงสร้างองค์กร
การนำระบบ CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการวางระบบที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน ทำให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจต่างๆ สำหรับการวางกลยุทธ์ด้าน CRM บรรลุเป้าหมาย เช่น กำหนดความสามารถในการสร้างผลกำไรของลูกค้า การแบ่งกลุ่มลูกค้าและการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ การเพิ่มยอดขายด้วยการแนะนำสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกันในกลุ่มอื่นๆ

ประโยชน์ของ CRM
1. ช่วยจัดการด้านการขายด้วย software computer และข้อมูลของบริษัทยังมีประโยชน์ นำมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการขาย ซึ่งทำให้การขายสามารถขายได้สูงขึ้น ระบบสนับสนุนที่ว่านี้รวมไปถึงโอกาสการขาย สารสนเทศของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการอ้างการขาย
2. ช่วยจัดการด้านการบริการด้วย Software ที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของลูกค้าได้ด้วยระบบ computer online สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ การบริการโดยช่วยจัดการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
3. ช่วยให้การทำการตลาดแบบมืออาชีพประสบความสำเร็จ เช่น การตั้งเป้าหมายทางการตลาดได้รับผลดี ช่วยในการจัดตารางการทำการตลาดและช่วยติดตามการส่งอีเมล์ไปยังลูกค้าโดยตรง อีกทั้งช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ

Enterprise Systems

Enterprise Systems
ระบบงานองค์การ คือ
- Enterprise system : Focus on integrating the key internal business process of
the firm Which are known as SAP, Oracle, People Soft
- โดยระบบจะเชื่อมโยง Software module และ common central Database และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง information ใหม่ในระบบทำให้มีผลต่อ business process อื่นๆ
Business Value of Enterprise systems
1. A more uniform organization (องค์การมีมาตรฐานเดียวกัน)
2. More efficient operation and customer drivern business processes (ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และกระบวนการทำงาน)
3. Firmwide information for improved decision making (การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ เพราะได้สาสนเทศจากภาพรวมขององค์การ)

อนึ่ง ระบบงานองค์การ(Enterprise Systems) หรือเรียกว่า ระบบการวางแผนการใช้ทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ซึ่งรายละเอียดของระบบอยู่ในข้อความถัดไป


การวางแผนทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP)

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP (Enterprise resource planning) คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานอีกด้วย

ลักษณะของ ERP

- เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาเพื่อเชื่อมโยงสารสนเทศที่เกิดจากการปฏิบัติงานในแต่ละวันของแต่ละแผนกในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว
- ประกอบด้วย : HardwareและSoftwareที่ช่วยในการไหลของข้อมูล
- หลักการ : การประยุกต์กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กรให้รวมเป็นหนึ่งเดียว
ข้อจำกัดของ ERP ในปัจจุบัน
1. เป็นระบบที่มีกฎเกณฑ์
2. ไม่สามารถใช้ Software ที่มาจากผู้ผลิตหลายแห่ง
3. ความไม่เข้าใจในการสื่อสารของระบบ ERP ใน Supply Chain
เวลา สถานที่ และขอบเขตขององค์กร
ตัวอย่างระบบที่มี ERP เป็นส่วนประกอบ
- ระบบงานขาย
- ระบบการเงิน
- ระบบการผลิตและวัตถุดิบ
- ระบบสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ
- ระบบทำหน้าที่ติดต่อสื่อสาร
ตัวอย่าง Software ERP
- SAP R/3
- Triton
- People Soft
- MFG/Pro
- Oracle Manufacturing
- iFenaissance
ฯลฯ
ประโยชน์ของระบบ ERP สำหรับองค์กร
- ลดต้นทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบ
- พัฒนากระบวนการทำงาน
- สารสนเทศที่นำไปใช้ในการตัดสินใจมีความถูกต้อง
- เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในองค์กรได้
ข้อเสียของระบบ ERP สำหรับองค์กร
- ค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบ
- การประสานการทำงานเข้ากับระบบอื่นทำได้ยาก
- มีความเสี่ยงหากเลือกผู้จัดจำหน่ายที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

Decision Support System : DSS หมายถึง กลุ่มของเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันดี ติดต่อกับผู้ใช้แบบง่ายๆ การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้กับแบบจำลองหลายๆแบบ แบบจำลองเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เพื่อแก้ปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง
โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้ ได้แก่
1. โปรแกรม Interrelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา
2. โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่าง ๆ
3. โปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่ การวางแผน การพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ
ชนิดของระบบ DSS
• Model – driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เป็นระบบเดี่ยวที่ถูกพัฒนาโดยผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
• Data - driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่นำฐานข้อมูลขององค์กร ระบบที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- ระบบ On – line Analytical Processing (OLAP)
- ระบบ Data mining
ส่วนประกอบของ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ คือ
1. ระบบฐานข้อมูล ( DSS Database )
2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจ
( DSS Software System )
3. เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบ
( DSS Support Tool )
ตัวแบบ (Model) คือ การจำลององค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจตัวอย่างตัวแบบหรือแบบจำลองได้แก่
- ตัวแบบทางสถิติ (Statistical Models )
- ตัวแบบทางการเงินและการบัญชี ( Financial and Accounting Models )
- ตัวแบบทางการผลิต ( Production Models )
- ตัวแบบทางการตลาด ( Marketing Models)
- ตัวแบบทางทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resources Models )
หน้าที่ของระบบ DSS ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
2. การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
3. การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
4. การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
5. การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของ DSS
1.ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS)

ความหมายของ GDSS
- Huber (1984) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อสนับสนุน การประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
- DeSanctis, Gallupe (1987) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้นองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮารด์แวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปได้ด้วยดี
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นโดยเฉพาะ
2. ออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก และให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับ
4. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องของการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่น
การทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในความหมายต่าง ๆ ตรงกัน
5. ต้องออกแบบให้ระบบสามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
แนวความคิดที่แตกต่าง และ การมีอิสระทางความคิด เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ผู้ใช้ (User)
4. กระบวนการ (Procedure)
ประโยชน์ของการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision)
ในบางครั้งการตัดสินใจดำเนินการบางอย่างในองค์กรขนาดใหญ่ อาจไม่สามารถกระทำได้เพียงบุคคล คนเดียว ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ดังนั้น ประโยชน์ของระบบ GDSS มีดังนี้
1. สนับสนุนการประมวลผลแบบคู่ขนาน
2. การประชุมร่วมของสมาชิกกลุ่มและการทำงานร่วมกัน
3. เพิ่มศักยภาพของการแสดงความคิดเห็น
4. อนุญาตให้กลุ่มสามารถใช้เทคนิคการแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง
5. ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอก
6. การติดต่อสื่อสารไม่ต้องเป็นแบบตามลำดับ
7. ให้ผลลัพธ์จากการออกเสียง
8. สามารถวางแผนล่วงหน้าในการประชุมกลุ่มได้
9. ผู้เข้าประชุมสามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ทันที
10. สามารถเก็บข้อมูลในการประชุมไว้ในการพิจารณาหรือวิเคราะห์ครั้งต่อไปได้